วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Internet เบื้องต้น

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
 พ.ศ. 2512   กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้ง  ระบบเครือข่ายARPANET ( Advance Research Project Agency Network)   สำหรับการสื่อสารของทหาร และได้เชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย 4 แห่ง
 พ.ศ. 2528  มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Science Foundation ) ของสหรัฐ ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IPเป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล
 พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
 พ.ศ. 2534  World Wide Web (WWW) ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ
 4 – 5 ปี ต่อมา มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 30 ล้านคน  บริษัทต่าง ๆ เห็นโอกาสทางธุรกิจจึงได้สร้างเว็บไซต์ของตนขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทของตน และ มีบริการจากอินเทอร์เน็ตมากมาย ที่ได้รับความนิยม
ในปัจจุบัน
ประวัติ Internet ในประเทศไทย
 พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ  ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
 พ.ศ. 2530 มีการเชื่อมต่อจากมหาวิทยาลัย ในประเทศไทยไปยังมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย โดยใช้สายโทรศัพท์
 พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  ได้เชื่อมต่อเครือข่ายไทยสารเข้ากับมหาวิทยาลัยและองค์กรในประเทศ 6 แห่ง
พ.ศ. 2538 กำเนิด บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของไทย
สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
Internet
    
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว Inter Connection Network
  อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร


เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบที่เรียกว่า Client-Server
Client คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฝ่ายขอรับบริการ  เช่นขอเรียกดู Web Page  ขอแฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ
 Server คือเครื่องผู้ให้บริการตามที่ client ร้องขอมา เช่น Web Server เป็นเครื่องที่ให้บริการ Web    ,   Mail server สำหรับให้บริการ  E - mail
World Wide Web
World Wide Web : WWW  เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต  โดยประกอบด้วยเอกสารที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารไว้จำนวนมากที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก 
โดยข้อมูลบน WWW อาจอยู่ในรูปแบบของ ข้อความ  ภาพ เสียง หรือ มัลติมีเดีย
เรียกสั้น ๆ ว่า web
 ใช้มาตรฐานการสื่อสาร เอชทีทีพี (HTTP protocol )
 โดยจะแสดงผลผ่าน Web browser
Web page คือ เอกสารบนเว็บที่สามารถแสดงข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยเก็บอยู่ในรูปของ ไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเข้าชม Web page แต่ละหน้า โดยใช้ Web Browser เรียก URL (Uniform Resource Locator) ของหน้าเว็บนั้น
เช่น URL
            HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
URL (Uniform Resource Locator)
URL เป็นการระบุตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลใน Internet
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก มีรูปแบบการเขียนดังนี้ 
                                  Service://node/path
Service หมายถึง ชนิดหรือวิธีการที่จะใช้ในการนำแฟ้มนั้นมา
Node เป็นชื่อของเครื่อง (domain name) ซึ่งมีแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเก็บอยู่
Path เป็นส่วนของชื่อและตำแหน่งของแฟ้มในเครื่องนั้น
HTTP://WWW.npru.ac.th/science/index.html
มาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP
TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol  เป็นมาตรฐานในการสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ แบ่งได้ 2 ส่วนคือ  TCP  และ  IP
TCP เป็นการเชื่อมต่อในระดับโปรแกรมประยุกต์ โดยการส่งการร้องขอการเชื่อมต่อ และเป็นการเชื่อมต่อแบบสองทาง (full-duplex communication)
IP เป็นการสื่อสารโดยไม่มีการเชื่อมต่อค้างไว้ โดยเป็นการส่งข้อความที่อยู่ในลักษณะของ Packet ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่เป็นจุดหมายปลายทาง
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
World Wide Web(WWW)
◦      บริการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
Electronic Mail(E-Mail)
◦      บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถส่ง ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ไปพร้อมกับจดหมายได้
Chat
◦      บริการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้โดยทันที
File Transfer Protocol (FTP)
◦      บริการขนถ่ายแฟ้มข้อมูล ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกันทั่วโลกผ่าน สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (fiber optic) สัญญาณดาวเทียม สัญญาณไมโครเวฟ
ISP ( Internet Service Provider) คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเชื่อมโยงกัน โดยมีทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เช่นLoxinfo , A-Net , Uninet , True
ลักษณะการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อแบบบุคคล
ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน  หรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านสารโทรศัพท์ หรือ แบบไร้สาย โดยใช้ Modem โดยเชื่อมต่อกับISP ซึ่งจ่ายค่าบริการเป็นชั่วโมง หรือ รายเดือน
การเชื่อมต่อแบบองค์กร
องค์กรที่มีเครือข่ายภายในอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อกับ ISPโดยอาศัยอุปกรณ์เราเตอร์ (router) โดยสามารถเลือกการเชื่อมต่อสัญญาณได้หลายรูปแบบ เช่น สายวงจรเช่า (leased line)   , ระบบวงจรไอเอสดีเอ็น (ISDN) ,ระบบดาวเทียม ระบบไมโครเวฟ
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
Hi-speed Internet
ADSL (Asymmetic Digital Subsciber Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงโดยสามารถสื่อสารโดยใช้ สายโทรศัพท์ โดยใช้  ADSL Modem 
ข้อดีคือสามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
ความเร็ว  2048/512  Kbps หมายถึง
ความเร็วในการ Download 2048 Kbps
ความเร็วในการ Upload 512 Kbps
ตัวอย่าง Package ของ TT&T


IP Address
เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย   ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 172.16.254.1
ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง255




Domain Name
Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้
เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
รหัสที่ใช้แทนใน Domain Name
Top Level Domain Name  (ต่างประเทศ)
COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
2. Local Domain Name (ภายในประเทศต่าง ๆ)

Browser
Browser คือ ซอฟท์แวร์ที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตใช้เพื่อเรียกดูข้อมูลบนWWW หรือ เป็นโปรแกรมสำหรับแสดงเว็บเพจนั่นเอง โดยหน้าเว็บเพจจะถูกเขียนด้วยภาษา HTML และถูกแปลความหมายด้วย Browser





องค์ประกอบของการพัฒนาเว็บไซต์
Hardware
 เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการ (Server) เครื่องเรียกใช้บริการ(Client) เราเตอร์  โมเด็ม 
Software
HTML editor
Server-side script  เช่น PHP , ASP
Client-side script  เช่น JavaScript , AJAX
Web server application เช่น  Apache , IIS , PWS
ซอฟท์แวร์มัลติมีเดีย
ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System)
MySQL
MS Access
Oracle


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น